วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม 2561 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) หรือ GISTDA (จิสด้า) ได้จัดการแข่งขันโปรแกรมประยุกต์ทางด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ “Geo-informatics Applications Contest : G-CON 2018” หัวข้อ Agritech และ Travetech ภายใต้งาน Startup Thailand 2018 ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยเสริมสร้างแนวคิดการพัฒนาและต่อยอดให้แอพพลิเคชั่นสามารถใช้งานได้จริง บนข้อมูลที่มีความถูกต้อง และใช้ได้อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อต่อยอดในเชิงพาณิชย์อย่างก้าวกระโดด และการพัฒนาในรูปแบบธุรกิจนวัตกรรม (Business Model Innovation) ทั้งนี้ ในการจัดแข่งขันมุ่งหมายเพื่อที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ให้มีองค์ความรู้และสร้างมาตรฐาน ที่จะช่วยผลักดันการสร้างธุรกิจนวัตกรรมให้มีความเข้มแข็งและสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนในเชิงพาณิชย์ต่อไป
โดยมีผลการแข่งขัน รางวัลชนะเลิศได้แก่ทีม Four Square รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ทีม Cosmo และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ทีม Lawang-chang System
การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทางด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศถือเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ และเพื่อให้ทางเลือกนี้สามารถรองรับการใช้งานได้ในทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะประชาชนทั่วไป ผ่านอุปกรณ์พกพา เช่น Notebook โทรศัพท์มือือ Smartphone PDA หรือ อุปกรณ์นั้น การพัฒนานั้นต้องอาศัยองค์ประกอบหลายด้าน เช่น ข้อมูลถ่ายทอดเรื่องราวหรือปรากฏการณ์ต่างๆ บนพื้นผิวโลกผ่านข้อมูลจากดาวเทียม (Remote sensing) ตำแหน่งบนพื้นโลกผ่านข้อมูลจากดาวเทียม (Global Navigation Satellite System : GNSS) และเทคโนโลยี Location Based Service (LBS) ข้อมูลที่ให้บริการนี้ต้องผ่านการนำเสนอข้อมูล เก็บข้อมูล จัดการ วิเคราะห์ และแสดงผลข้อมูล โดยจัดเก็บในรูปแบบฐานข้อมูล อย่างชัดเจน ทำให้เห็นภาพรวมของสิ่งที่สนใจ อันจะนำไปสู่การวางแผนในชีวิตประจำวันได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การบริการได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งสามารถนำไปต่อยอดแนวความคิดในการพัฒนาการบริหารจัดการงานได้อีกด้วย ซึ่งโครงการฯ มีระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 1 ปี โดยเริ่มต้นจากการประชาสัมพันธ์และการแข่งขันในระดับภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคตะวันออกฉียงเหนือ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ภาคใต้ ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา และ ภาคกลาง ณ มหาวิทยาลัยจันทรเกษม กรุงเทพมหานครฯ จนได้ผู้เข้าร่วมสมัครทั้งหมด รวม 104 ทีม เพื่อคัดเลือกเหลือ 20 ทีม เพื่อเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ (Incubation) ที่จัดขึ้นภายในงาน EECi@SKP (EECiFair@SKP) ในวันที่ 11-12 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา และทุกทีมได้มีเวลาพัฒนาผลงาน ปรับปรุงแก้ไข และในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 ภายในงาน Geoinfotech 2018 ได้จัดการแข่งขัน Pitching รอบ Semi-Final เพื่อคัดเลือกทีมที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศจำนวน 6 ทีม เข้ารอบชิงชนะเลิศเพื่อแข่งขันในงาน Startup Thailand ในครั้งนี้

ประมวลภาพบรรยากาศ