สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นำทีมสื่อชมพื้นที่พร้อมเผยแผนการพัฒนา อุตสาหกรรมการบินและอวกาศ โดยมี ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริม เศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ได้นำคณะสื่อมวลชนไทย – จีน ลงพื้นที่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เยี่ยมชมภารกิจในพื้นที่อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ และ Digital Park Thailand ภายใน เขตพื้นที่โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก EEC : Eastern Economic Corridor (EEC) ที่มีภารกิจในการพัฒนานวัตกรรมการบินและอวกาศ การบริหารจัดการดาวเทียมไทยโชต การวางแผนถ่ายภาพ การรับสัญญาณจากดาวเทียม การประมวลผลภาพถ่าดาวเทียม ห้องปฏิบัติการ GALAXI ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการด้านวัสดุและโครงสร้างการบินและอวกาศ เพื่อส่งเสริมภารกิจนวัตกรรมและ สนับสนุนอุตสาหกรรม การบินและอวกาศด้านการผลิต และซ่อมบำรุงอากาศยาน ห้องปฏิบัติการ SOAR ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนา ระบบปฏิบัติการ วางแผนเส้นทางการบิน Space Inspirium พิพิธภัณฑ์เผยแพร่ข้อมูลด้านอวกาศ และสถาบันไอโอทีแห่งแรกของไทย หนึ่งในเมกะโปรเจคอีอีซี ดันเศรษฐกิจไทยทะยานขึ้นสูง สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ พร้อมดึงนักลงทุนต่างชาติร่วมลงทุน
Digital Park Thailand ยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญทางด้านการสื่อสาร ความเร็วสูง ของไทย เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสถานีดาวเทียมและสถานีเคเบิลใต้น้ำ ที่เป็น เส้นทางหลัก ของการเชื่อมไฟเบอร์ออปติคภายในประเทศกับต่างประเทศได้แก่ ประเทศสิงคโปร์และฮ่องกง เปรียบเสมือนศูนย์กลางอินเทอร์เน็ต(Internet Hub) ของประเทศใน AEC และ หากพิจารณา ตามสถานที่ตั้งประเทศไทยถือได้ว่าเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคซึ่งเหมาะอย่างยิ่งในการพัฒนา ธุรกิจดิจิทัล ในพื้นที่อย่างจริงจัง
depa ได้ใช้พื้นที่ดังกล่าวกว่า 30 ไร่ หรือคิดเป็น 4 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด เพื่อสร้างสถาบันไอโอที ( IoT Institute) แห่งแรก ของประเทศไทย เพื่อเป็นพื้นที่ช่วยส่งเสริม การวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัล พร้อมให้บริการด้านดิจิทัล ครบวงจรโดยเน้นหลักการ บูรณาการร่วมกัน (Ecosystem Collaboration) ซึ่งขณะนี้ depa ได้ใช้นโยบายโดยนำ แนวคิดของพันธมิตรด้าน IOT (IoT Alliance) ทั้งจากภายในประเทศ และระดับสากล มาเป็นกลยุทธ์ในการผลักดันการส่งเสริมด้าน IOT โดยกลุ่มพันธมิตรหลัก ประกอบด้วย 1) สถาบันการศึกษาและหน่วยงานของภาครัฐ 2) กลุ่มผู้ประกอบการStart up 3) ภาคเอกชน และ 4) ภาคอุตสาหกรรม
“จุดเด่นของสถาบันคือการสนับสนุนการทำกิจกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับด้าน IoT อย่างครบวงจร โดยการสร้างอาคารได้เน้นการนำแนวคิดของการสร้างอาคารแบบ Digital Smart Buildingเน้นหลักการสนับสนุนอุตสาหกรรมดิจิทัลจากการเชื่อมโยงเครือข่าย ด้านสาธารณูปโภค ด้านดิจิทัล (Linkage) ด้านการสื่อสาร (Communication) ด้านเทคโนโลยี (Technology) ด้านการสร้างเครือข่ายพันธมิตร(Networking) และด้านนวัตกรรม (Innovation) รวมทั้งการ นำกรอบแนวคิดของรูปแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยเน้นการออกแบบ อาคารแบบ Green building เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ดร.ภาสกรกล่าว
อย่างไรก็ดี สถาบันไอโอที ( IoT Institute) ได้แบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็น 6 ประเภท ประกอบด้วย 1.Open labs 2. IoT Design Centre 3. Office 4.Exhibition 5. Auditorium 6. Common Area โดยคาดว่าในปลายปีนี้จะได้เห็นโครงสร้างในส่วนของ Open labs โดยระหว่างนี้ depa ได้มีการดึงนักลงทุน รวมถึงสถาบันวิจัยใหญ่ๆ เพื่อให้เกิด การทำวิจัยที่ไม่เคยมีในประเทศไทยเกิดการ Transform คนในพื้นที่เพื่อขยายต่อไปยังสถาบัน การศึกษาและทั่วทั้งประเทศ นอกจากนี้พื้นที่ดังกล่าว ยังได้รับสิทธิพิเศษจากการสนับสนุน ของภาครัฐ เช่น Smart Visa การยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคล การยกเว้นอากรขาเข้า เครื่องจักรวัตถุดิบ เงินสนับสนุน ค่าใช้จ่ายในการลงทุนการวิจัย สิทธิการเช่า ที่ดินราชพัสดุ ระบบ One-stop Service เป็นต้น
ประมวลภาพบรรยากาศ