ในวันที่ 26-27 สิงหาคม 2562 ณ ห้อง Sapphire 106 อิมแพคเมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมีแผนสนับสนุน Startup และผู้ประกอบการ SME ภายใต้กิจกรรม MOST Startup ที่ทำหน้าที่ส่งเสริมผู้ประกอบการ Startup ให้เติบโตอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเป้าหมายในกลุ่มธุรกิจที่ มีความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมอวกาศ ของประเทศในอนาคต โดยหนึ่งเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมอวกาศที่เห็นชัดมากว่า 50 ปีคือเทคโนโลยีระบบนำทางด้วยดาวเทียมหรือ Global Navigation Satellite System (GNSS) ซึ่งจำเป็นต้องผลักดันการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวสู่อุตสาหกรรมไทยอย่างรอบด้านเช่น ในอุตสาหกรรมด้านการคมนาคมขนส่ง การจัดทำแผนที่มีความถูกต้อง การวางผังเมืองและเขตเศรษฐกิจ และการเกษตร เป็นต้น เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการเติบโตของเทคโนโลยีอวกาศ และการเปลี่ยนฐานะของประเทศไทยจากผู้ใช้บริการ มาเป็นผู้ผลิตเทคโนโลยี GNSS ใช้เองได้ในอนาคต

จากการเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว สทอภ. ร่วมกับ The National Space Policy Secretariat (NSPS), Cabinet Office of Japan และหน่วยงานชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่นทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 10 หน่วยงาน จัดตั้งศูนย์ GNSS Innovation Center (GiNNo) เพื่อพัฒนานวัตกรรมต้นแบบให้เหมาะกับ ระบบนิเวศ (Eco-System ) ของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย โดยปรับใช้ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานจากระบบระบุพิกัดตำแหน่งบนพื้นโลกความแม่นยำสูง Quasi-Zenith Satellite System (QZSS) ซึ่งให้ค่าพิกัดตำแหน่งพื้นโลกโดยมีความแม่นยำถึงระดับ 10 เซนติเมตร หรือน้อยกว่า นับว่าแม่นยำที่สุดในโลก และ ครอบคลุม และมีประสิทธิภาพมากที่สุดในพื้นที่ เอเชีย และโอเชียเนีย รวมถึงประเทศไทยด้วย (2-5 เซนติเมตร) นอกจากนี้ สทอภ. ได้พัฒนาระบบให้บริการข้อมูลเชิงตำแหน่งรายละเอียดสูงจากสถานี CORS จะช่วยปรับแก้ข้อมูลเชิงตำแหน่งในประเทศไทยให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น และช่วยส่งเสริมให้การพัฒนา application ที่มีความแม่นยำ รวมถึง สทอภ. ได้ร่วมมือกับหน่วยงาน GNSS.asia จากสหภาพยุโรป ในการ เป็นตัวกลางในภูมิภาคเอเชีย เพื่อส่งเสริม สร้างความตระหนักในการใช้ระบบนำทาง Galileo และเยี่ยมโยงเครือข่ายการใช้นวัตกรรม GNSS ระหว่างเอเชียและยุโรป ด้วย

ดังนั้น
เพื่อเป็นการส่งเสริมภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อย ให้ปรับใช้ระบบ QZSS Galileo และ GNSS CORS ของ สทอภ. เพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการ ผลิตภัณฑ์ ตลอดเกิดการสร้างนวัตกรรมรูปแบบใหม่ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ จึงได้ร่วมมือกับ The National Space Policy Secretariat (NSPS), Cabinet Office of Japan สำนักนโยบายกิจการด้านอวกาศจากประเทศ หน่วยงาน Multi GNSS Asia หน่วยงาน GNSS.asia by European Union และหน่วยงานพันธมิตร ในการจัดการ การจัดการแข่งขันประกวดไอเดียธุรกิจ GALILEO & SMART RTK Hackathon เพื่อสร้างและออกแบบนวัตกรรมต้นแบบ ด้าน GNSS ความแม่นยำสูง เพื่อใช้ประโยชน์จากเชิงพาณิชย์ เช่น ด้านการขนส่ง การเกษตร การก่อสร้าง เป็นต้น เพื่อนำไปสู่การเป็นผู้ประกอบการที่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการให้บริการ ให้มีความสอดคล้องและตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและเติบโตได้ได้อย่างยั่งยืน สร้างมูลค่าเพิ่ม และเข้าสู่มาตรฐานสากล
หัวข้อการจัดการแข่งขันประกวดไอเดียธุรกิจ GALILEO & SMART RTK Hackathon เพื่อพัฒนาต่อยอดการประยุกต์ใช้ (Application) เพื่อแก้ไขปัญหาดังนี้
1. การแก้ไขปัญหาสภาพการจราจรของเมืองหลวง
1.1) การจราจรติดขัด
1.2) แก้ไขปัญหาความปลอดภัยด้านการสัญจรบนทางเท้า (รถจักรยานยนต์-คนเดินเท้า)
1.3) การลดการเกิดอุบัติเหตุ
2. การพัฒนาระบบเกษตรฉัจริยะ Presidion Farming
2.1) การพัฒนาระบบ เครื่องจักรอัฉริยะเพื่อลดต้นทุนการผลิต
2.2) การลดความเหลื่อมล้ำของเกษตรกรรายใหญ่ และรายย่อย (Application ลูกค้า-ผู้ผลิตโดยตรง)
3. การพัฒนาสังคมในเมือง (Smart City)
3.1) การพัฒนาคุณภาพชีวิตประจำวัน ของผู้พิการ เด็กเล็ก คนชรา เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
3.2) การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ
4. การพัฒนาแพลตฟอร์มที่สามารถระบุตำแหน่งรวมกับค่าปรับแก้เชิงตำแหน่ง (Precise Positioning Application)
4.1) การพัฒนาapplication บนมือถือ ให้รองรับกับการใช้ข้อมูลจากระบบให้บริการข้อมูลเชิงตำแหน่งรายละเอียดสูง
4.2) การพัฒนาapplication บนมือถือ ให้รองรับค่าปรับแก้เชิง

โดยรางวัลที่ 1 นวัตกรรมยอดเยี่ยม (Best Prize) มอบโดย GNSS.asia มูลค่า 50,000 บาท แก่ทีม Second eyes

รางวัลที่ 2 Galileo Prize มอบโดย Multi GNSS Asia มูลค่า 40,000 บาท แก่ทีม Fling RTK

รางวัลที่ 3 การประยุกต์ GNSS CORS จากระบบให้บริการข้อมูลเชิงตำแหน่งรายละเอียดสูง (Best Application) มอบโดย สทอภ. มูลค่า 25,000 บาท


ประมวลภาพบรรยากาศ