UAV STARTUP 2019 Pitching Concept Idea โดย GISTDA และ NIA เฟ้นหาไอเดียธุรกิจนวัตกรรม

3 เมษายน 2562

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.)ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ จัดการแข่งขัน Pitching Concept Idea ประกวดข้อเสนอโครงการ ของการประกวดธุรกิจนวัตกรรม UAV STARTUP 2019 โดยในปีนี้แบ่งประเภทการแข่งขันเป็นสองหัวข้อได้แก่
1. UAV สำหรับความมั่นคงและกิจการพลเรือน (Dual use tech): เพื่อพัฒนา UAV สำหรับการใช้งานในพื้นที่ปฏิบัติการทางทหาร (tactical UAV) และนำไปประยุกต์ใช้งานด้านพลเรือนได้
2. UAV ด้าน บรรเทาภัยพิบัติ (Disaster) : เพื่อการพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ที่ตอบโจทย์การใช้งาน UAV ด้านการจัดการให้ความช่วยเหลือ ด้านงานติดตามและตรวจสอบ และด้านการสำรวจและประเมินผล
ในการประกวดจะเปิดรับสมัครเฉพาะผู้ที่จดทะเบียนนิติบุคคลเพื่อดำเนินธุรกิจเท่านั้น ซึ่งในปีนี้มีผู้สมัครที่ผ่านการ Interview Concept Idea และผ่านการคัดเลือกมาทั้งหมด 16 ทีมด้วยกันโดยแบ่งเป็นด้าน Dual use tech 9 ทีม และด้าน Disaster 7 ทีม ซึ่งแต่ละทีมนั้น จะนำแนวคิด ไอเดียในการพัฒนา UAV ขึ้นนำเสนอต่อคณะกรรมการและผู้ประกอบการที่มีความสนใจเข้าร่วมฟังการแข่งขัน และนำข้อคิดเห็นจากคณะกรรมการไปปรับใช้ให้มีประสิทธิภาพมากยึ่งขี้น โดยที่ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบดังนี้

ด้าน Disaster
นวัตกรรมอากาศยานไร้นักบินเพื่อสนับสนุนระบบการบริการการแพทย์ฉุกเฉินจากภัยพิบัติทางน้ำ / อาร์แอนด์ดี เอ็นไว-อินโนเทค
อากาศยานหลายใบพัดสำหรับระบบตรวจจับฝูงชนเพื่อป้องกันการก่อวินาศภัย / top engineering
Drone Delivery for Disaster Relief / Fling
มัลติโดรนเพื่อสนับสนุนภารกิจดับเพลิง / เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส
โดรนอัจฉริยะช่วยชีวิตผู้ประสบภัย / โนวี (2018)

ด้าน Dualuse
อากาศยานไร้คนขับชนิดปีกตรึงขึ้นลงทางดิ่งสำหรับการตรวจความผิดปกติตามแนวถนน / ไอครีเอทีฟซิสเตมส์
การพัฒนา UAV เพื่อสนับสนุนมาตรการจัดการเหตุคุกคามทางอาชญากรรมและปัญหาสุขภาพชุมชน / เดตั้มไลน์
ระบบขนส่งกำลังบำรุงด้านการทหาร / ทามอส
ซอฟท์แวร์สำหรับโดรนในการสร้างแผนที่ 3มิติและระบุตำแหน่งตนเองด้วยคอมพิวเตอร์บนตัวโดรน / โอแซดที โรโบติกส์

การประกวดข้อเสนอโครงการนี้จัดขึ้นในวันที่ 3 เมษายน 2562 เวลา 09.00 น. ณ อุทยานนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ราชเทวี กทม. ซึ่งหลังจากกิจกรรมนี้จะเป็นการ Incubate โดยเป็นการอบรมให้ความรู้ เพิ่มทักษะต่างๆให้กับผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้เข้าแข่งขันในรอบต่อไป

Gistda เข้าดูการทดสอบการสาธิตผลิตภัณฑ์ การประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับการสำรวจตรวจสอบและประเมินสภาพผิวถนน

24 สิงหาคม 2561

ปัญหาถนนพังเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สร้างความเดือดร้อนในหลายๆพื้นที่ อีกทั้งไม่ค่อยได้รับการแก้ไขเท่าที่ควร หนึ่งในทีมผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายของโครงการ UAV STARTUP 2019 จึงไ้ด้จัดทำการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับการสำรวจตรวจสอบและประเมินสภาพผิวถนน นวัตกรรมการสำรวจและสำรวจสภาพผิวถนนแบบใหม่ด้วยการใช้ระบบการตรวจ LIDAR ผสมกับระบบถ่ายภาพเชิงแสงเพื่อนำมาพัฒนาแบบจำลองความสูงดิจิตัลของพื้นผิวถนน ซึ่งได้ทำการสาธิตการทำงานของระบบเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขต หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าร่วมการแข่งขัน UAV STARTUP 2019 Final Pitching รอบชิงชนะเลิศ เพื่บพบกับทีมผู้เข้าแข่งขันทั้ง 10 ทีมที่มาพร้อมกับไอเดียแปลกใหม่และเปิดโอกาสทางธุรกิจอีกมากมาย ในวันที่ 14 กันยายน 2561เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

Gistda เข้าดูการทดสอบการสาธิตผลิตภัณฑ์ Fire Fighting UAV

24 สิงหาคม 2561

เป็นการยากที่จะควบคุมและป้องกันมิให้เกิดอัคคีภัย แต่หากเกิดขึ้นแล้วเราจะหาทางรับมือกับมันได้อย่างไร เพื่อให้เกิดการเสียหายน้อยที่สุด ปัญหาดังกล่าวจึงนำมาสู่การคิดค้น Fire Fighting UAV โครนที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในภารกิจสำรวจ ช่วยเหลือ และระงับเหตุเพลิงไหม้ในโรงงาน โดยใช้ระบบเซ็นเซอร์และมือจับที่ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ใช้งาน อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพในการเข้าระงับและควบคุมเหตุเพลิงไหม้ได้ดีกว่าวิธีการในปัจจุบันอีกด้วย โดยการเข้าทดสอบในครั้งนี้โดรนของทีมผู้เข้าแข่งขันได้แสดงความสามารถในการเข้าตรวจสอบและควบคุมเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างรวดเร็วและเม่นยำ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยราชมงคงธัญบุรี จ.ปทุมธานี หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าร่วมการแข่งขัน UAV STARTUP 2019 Final Pitching รอบชิงชนะเลิศ เพื่บพบกับทีมผู้เข้าแข่งขันทั้ง 10 ทีมที่มาพร้อมกับไอเดียแปลกใหม่และเปิดโอกาสทางธุรกิจอีกมากมาย ในวันที่ 14 กันยายน 2561เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

Gistda และ NIA เข้าดูการทดสอบการสาธิตผลิตภัณฑ์ โครงการอากาศยานไร้นักบินสำหรับผลิตกุ้งในระบบปิดโดยอาศัยหลักการทางชีวภาพ

24 สิงหาคม 2561

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการเลี้ยงกุ้งเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและลดปริมาณคนงานที่ใช้ในกระบวนการผลิตกุ้ง จึ้งให้เกิด โครงการอากาศยานไร้นักบินสำหรับผลิตกุ้งในระบบปิดโดยอาศัยหลักการทางชีวภาพ ซึ่งใช้ระบบ Liquid Level Sensor สำหรับควบคุมปริมาณอาหารและลดการสูญเสียอาหารใรการผลิตกุ้งระบบปิด เพื่อป้องกันและควบคุมโรค โดยการทดสอบการสาธิตผลิตภัณฑ์ (DEMO)​ของผู้เข้าแข่งขันนี้ ได้เข้าตรวจสอบและศึกษาการทำงานของระบบ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2561 ณ บ่อกุ้งในเขตพื้นที่กำแพงแสน หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าร่วมการแข่งขัน UAV STARTUP 2019 Final Pitching รอบชิงชนะเลิศ เพื่บพบกับทีมผู้เข้าแข่งขันทั้ง 10 ทีมที่มาพร้อมกับไอเดียแปลกใหม่และเปิดโอกาสทางธุรกิจอีกมากมาย ในวันที่ 14 กันยายน 2561เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

Gistda และ NIA เข้าดูการทดสอบการสาธิตผลิตภัณฑ์ อากาศยานไร้นักบินสำหรับพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย

24 สิงหาคม 2561

เป็นอีกหนึ่งทีมที่มีไอเดียหน้าสนใจในการนำอากาศยานไร้คนขับมารวมกับการกำจัดยุงลายกลายเป็นอากาศยานไร้นักบินสำหรับพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความยุ่งยากในการใช้คนนำเครื่องไปพ่นน้ำยากำจัดยุงลายตามที่พักอาศัยแล้วยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้วยเซนเซอร์ในการตรวจจับความเข้มของควันที่พ่นออกไปว่าอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมหรือไม่ ช่วยให้การกำจัดยุงลายเป็นเรื่องง่ายและได้ผลมากกว่าเดิมอีกด้วย โดยการทดสอบการสาธิตผลิตภัณฑ์ (DEMO)​ของผู้เข้าแข่งขันนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าร่วมการแข่งขัน UAV STARTUP 2019 Final Pitching รอบชิงชนะเลิศ เพื่บพบกับทีมผู้เข้าแข่งขันทั้ง 10 ทีมที่มาพร้อมกับไอเดียแปลกใหม่และเปิดโอกาสทางธุรกิจอีกมากมาย ในวันที่ 14 กันยายน 2561เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

Gistda และ NIA เข้าดูการทดสอบการสาธิตผลิตภัณฑ์ ศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรมต้นแบบของระบบรักษาความปลอดภัยด้วยอากาศยานไร้นักบิน

21 สิงหาคม 2561

เริ่มต้นด้วยทีมที่มากความสามารถกับทีมศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรมต้นแบบของระบบรักษาความปลอดภัยด้วยอากาศยานไร้นักบิน ในการเข้าดูการทดสอบการสาธิตผลิตภัณฑ์ (DEMO)​ของผู้เข้าแข่งขันโครงการ UAV STARTUP 2018 ซึ่งเป็นการแสดงความสามารถของโปรมแกรมและโดรนในการบินสำรวจและรักษาความปลอดภัยภายในอุทยาน เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 61 ณ Airplane Park Korat จ. นครราชสีมา หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าร่วมการแข่งขัน UAV STARTUP 2019 Final Pitching รอบชิงชนะเลิศ เพื่บพบกับทีมผู้เข้าแข่งขันทั้ง 10 ทีมที่มาพร้อมกับไอเดียแปลกใหม่และเปิดโอกาสทางธุรกิจอีกมากมาย ในวันที่ 14 กันยายน 2561เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

Workshop กิจกรรม “UAV startup 2018” ภายใต้แนวคิด Automous System & Data Analytics

16 มกราคม 2561

กลับมาแล้วกับกิจกรรม "UAV startup 2018" ภายใต้แนวคิด Automous System & Data Analytics โดยแบ่งเป็น "UAV Application" ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม เพื่อร่วมค้นหาไอเดียธุรกิจใหม่ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ

การแข่งขันเป็น 3 รอบ ได้แก่

1 รอบการประกวดไอเดีย ได้รับเงินรางวัลจำนวน 30,000 บาท/โครงการ ด้านเศรษฐกิจ 10 โครงการ ด้านสังคม 10 โครงการ เพื่อใช้ในการพัฒนาข้อเสนอโครงการ และเข้ารับการอบรมด้านเทคโนโลยีและธุรกิจจาก สนช. และ สทอภ. โดยผู้ได้รับการคัดเลือกต้องส่งข้อเสนอโครงการและต้องให้คณะกรรมการเห็นชอบก่อนรับเงินรางวัล

2 รอบการประกวดข้อเสนอโครงการ ได้รับเงินรางวัล 80,000 บาท/โครงการ ด้านเศรษฐกิจ 5 โครงการ ด้านสังคม 5 โครงการ เพื่อใช้ในการพัฒนาผลงานต้นแบบ โดยผู้ได้รับการคัดเลือกต้องส่งผลงานต้นแบบและต้องให้คณะกรรมการเห็นชอบก่อนรับเงินรางวัล

3 รอบการประกวดผลงานต้นแบบ คัดเลือกผู้ชนะการประกวดด้านเศรษฐกิจ 3 รางวัล ด้านสังคม 3 รางวัล รางวัลที่ 1 รับเงินรางวัล 120,000 บาท รางวัลที่ 2 รับเงินรางวัล 50,000 บาท รางวัลที่ 3 รับเงินรางวัล 30,000 บาท

สนใจเข้าร่วม workshop ชี้แจ้งรายละเอียด วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 ได้ที่ http://www.nia.or.th/uav_workshop