เมื่อวันที่ วันที่ 30 สิงหาคม 2562 ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ The National Space Policy Secretariat (NSPS), Cabinet Office of Japan และหน่วยงานชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่นทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 10 หน่วยงาน จัดตั้งศูนย์ GNSS Innovation Center (GiNNo) เพื่อพัฒนานวัตกรรมต้นแบบให้เหมาะกับ ระบบนิเวศ (Eco-System) ของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย โดยปรับใช้ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานจากระบบระบุพิกัดตำแหน่งบนพื้นโลกความแม่นยำสูง Quasi-Zenith Satellite System (QZSS) ซึ่งให้ค่าพิกัดตำแหน่งพื้นโลกโดยมีความแม่นยำถึงระดับ 10 เซนติเมตร หรือน้อยกว่า นับว่าแม่นยำที่สุดในโลก และ ครอบคลุม และมีประสิทธิภาพมากที่สุดในพื้นที่ เอเชีย และโอเชียเนีย รวมถึงประเทศไทยด้วย (2-5 เซนติเมตร) นอกจากนี้ สทอภ. ได้พัฒนาระบบให้บริการข้อมูลเชิงตำแหน่งรายละเอียดสูงจากสถานี CORS จะช่วยปรับแก้ข้อมูลเชิงตำแหน่งในประเทศไทยให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น และช่วยส่งเสริมให้การพัฒนา application ที่มีความแม่นยำสูง เพื่อใช้ประโยชน์จากเชิงพาณิชย์ เช่น ด้านการขนส่ง การเกษตร การก่อสร้าง เป็นต้น เพื่อนำไปสู่การเป็นผู้ประกอบการที่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการให้บริการ ให้มีความสอดคล้องและตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและเติบโตได้ได้อย่างยั่งยืน สร้างมูลค่าเพิ่ม และเข้าสู่มาตรฐานสากล

เพื่อเป็นการแสดงจุดยืนของ สทอภ. และรายงานความคืบหน้าด้านการ ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม ความร่วมมือด้าน Continuously Operating Reference Station (CORS) และการส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพของประเทศไทยในเรื่อง Global Navigation Satellite System (GNSS) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางในทุกภาคส่วนของประเทศไทย ซึ่งจำเป็นต้องมีการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐจากหลากหลายกระทรวงและความร่วมมือกับภาคเอกชน นอกจากนี้ ประเทศไทยได้เตรียมการจัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลระบบดาวเทียมนำทางแห่งชาติ (GNSS National Data Center) เพื่อเป็นศูนย์กลางการบริการข้อมูล GNSS ของประเทศ โดยมีการให้คำแนะนำและปรึกษาด้วยดีตลอดมา จากการถ่ายทอด องค์ความรู้ และโมเดลต้นแบบจากรัฐบาลญี่ปุ่นเอง และมีการจัดตั้ง GNSS Innovation Center (GiNNo) เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนบ่มเพาะ/ สนับสนุนให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ GNSS ในหมู่ผู้ประกอบการไทย โดยในอนาคตในเชิงธุรกิจและบริการต่อไป

ในวันที่ 30 สิงหาคม ดร.นพ. ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประธานคณะทำงาน ได้ร่วมเป็นประธานกล่าวเปิดงาน DEMO DAY Showcase for GNSS Innovation ซึ่ง เป็นการเสนอตัวอย่าง การใช้นวัตกรรมด้าน GNSS ให้เห็นเป็นรูปธรรม โดยทาง สทอภ. ร่วมมือกับหน่วยงาน JICA (Japan International Cooperation Agency) ในการสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมนี้ขึ้น ร่วมด้วยบริษัทศักยภาพจากญี่ปุ่น และไทย กว่า 13 บริษัท ได้แก่

ด้าน Smart agriculture

- KUBOTA Corporation

- YANMAR AGRIBUSINESS Co., Ltd

ด้าน Survey and Mapping

- Hydro – Informatics Institute

- Iwane Laboratories (Thailand) Ltd.

- KAITEKI-KUKAN FC CO.,Ltd. & PASCO (Thailand) Co.,Ltd.

- KOKUSAI KOGYO CO., Ltd.

- NIKON-TRIMBLE Co., Ltd.

ด้าน i-Construction

- AKTIO Corporation

- NISHIO RENT ALL CO.,LTD. & TOPCON CORPORATION

ด้าน Intelligent Transport System

- Tokai Clarion, Ltd. & Asia Technology Industry Co.,Ltd.

ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ (Space Krenovation Park – SKP) อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีอีกด้วย เพื่อเป็นการเน้นย้ำความพร้อมในการให้บริการ สถานี CORS ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ส่งเสริมการต่อยอดจากภาคธุรกิจให้พร้อมที่จะก้าวเข้ามาปรับใช้นวัตกรรม GNSS เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมไทย

ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA กล่าวว่าคณะทำงานร่วมไทย-ญี่ปุ่นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสถานีค่าอ้างอิงพิกัดแบบต่อเนื่อง (CORS) และผู้ประกอบการ นักลงทุนชั้นนำ ได้ให้ความเชื่อมั่นในพื้นที่ SKP ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำและมีศักยภาพ สำหรับจัดกิจกรรมแสดงนวัตกรรมต้นแบบ ด้าน GNSS ในวันนี้ ซึ่งก็สอดคล้องกับภารกิจของ GISTDA เอง ก็ได้มีภารกิจสนับสนุนการวางฐานรากของประเทศ ในการให้บริการข้อมูลสารสนเทศ และ GNSS มาโดยตลอด รวมถึงการส่งเสริมให้เกิด ECO-System ด้านเทคโนโลยีอวกาศอย่างเป็นรูปธรรมแก่ประเทศ เช่น

• เป็นการส่งเสริมการลงทุน ต่อยอดนวัตกรรมด้าน GNSS ระหว่างหน่วยงานชั้นนำ จากต่างในประเทศ ให้การสนับสนุน อำนวยความสะดวก ในกำหนดพื้นที่ต้นแบบ เช่น ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก เขตนวัตกรรม (EECi) ณ อำเภอ วังจันทร์ จังหวัดระยอง เพื่อให้เป็นพื้นที่ทดสอบ (Sandbox) อย่างอิสระ เพื่อขยายผลไปสู่ระดับประเทศ

• ส่งเสริมผู้ประกอบการในการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมเชิงตำแหน่งความแม่นยำสูง ในการพัฒนานวัตกรรมด้านต่าง ๆ ตั้งแต่บริษัทจัดตั้งใหม่ขนาดเล็ก (Startup) ขนาดกลาง (SME) ขนาดใหญ่ (Corporate) ผ่านการจัดเวทีการส่งเสริมเงินทุน องค์ความรู้ Joint Research และ Business Matching มาโดยตลอด

• การสร้างความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงานในประเทศ และความร่วมมือกับองค์กรอวกาศนานาชาติ ในการผลักดัน Technology ไปสู่การ Commercialization ยกระดับสู่ภาคอุตสาหกรรมอวกาศในภูมิภาค เพิ่ม Value ในการให้บริการ

กิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการบูรณาการของภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีด้าน GNSS ให้มีการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ในการด้านต่าง ๆ ซึ่งจะสามารถพัฒนาขีดความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศไทยและผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยสู่ความมั่นคง มั่นคั่ง และยั่งยืนต่อไป


ประมวลภาพบรรยากาศ