ในวันที่ 24 สิงหาคม 2563 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.อเนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร อว. ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่ EECi และเยี่ยมชมสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) และ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ (KVIS) รวมถึงเยี่ยมชมสวนทุเรียนใน อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ กล่าวถึงการลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าก่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่ EECi และเยี่ยมชมในครั้งนี้ว่าเป็นงานแรกหลังจากดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว.
กิจกรรมนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) จังหวัดระยอง
จากการที่ลงพื้นที่ พบว่า EECi มีความคืบหน้าในการก่อสร้างเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้แล้วกว่าร้อยละ 40
โดยคาดว่าเมืองนวัตกรรม EECi จะพร้อมเปิดดำเนินการได้ในช่วงปลายปี 2564 รวมถึงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์สำคัญที่สามารถรองรับการทำวิจัยขยายผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของ EECi อาทิ โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี โรงเรือนฟีโนมิกส์ ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน
นอกเหนือจากการหาพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศจากหน่วยงานรัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา/สถาบันวิจัยกว่า 70 ราย แล้ว EECi ยังดำเนินกิจกรรมพัฒนาชุมชนด้วยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.)
เข้าไปส่งเสริมและสนับสนุนภาคการเกษตร ภาคการศึกษา และวิสาหกิจชุมชนบนพื้นที่ EEC (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง) เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้ประโยชน์ด้วย
“อว. พร้อมให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของ EECi อย่างเต็มกำลัง เนื่องจาก EECi เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้าน วทน. ที่สำคัญของคนไทย ที่จะช่วยพลิกโฉมการทำนวัตกรรมของประเทศสู่เชิงพาณิชย์อย่างแท้จริง ช่วยให้ประเทศหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมเดิม รวมถึงสร้างให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ ทั้งในพื้นที่ EEC และในพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ อันจะนำไปสู่การเป็นประเทศแห่งนวัตกรรม ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต” รมว.อว. กล่าว
อีกทั้ง GISTDA ได้นำผลงานแสดงนิทรรศการในด้านโครงการระบบการจัดการจราจรทางอากาศของอากาศยานไร้คนขับ ได้เล็งเห็นถึงพื้นที่ศักยภาพของ EECi จึงพร้อมที่จะผลักดันให้เกิดการลงทุนและดึงดูดนวัตกรรมการใช้งาน และควบคุมขึ้นในพื้นที่ โดยอากาศยานไร้คนขับหรือ UAV ถูกใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แต่ยังไม่มีระะบบการจัดการการบินของอากาศยานไร้คนขับในประเทศไทย โครงการนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ประเทศไทยมีระบบการจัดการอากาศยานไร้คนขับเช่นเดียวกับเครื่องบินที่มี Air Traffic Control
เป้าหมายสำคัญ 5 ข้อ ได้แก่
1. ความปลอดภัย ในการใช้ห้วงอากาศ
2. ความมั่นคง ในการเฝ้าระวังและติดตาม
3. ความทั่วถึง ในการใช้ห้วงอากาศของทุกฝ่าย
4. การเข้าถึงที่ง่าย ทั้งผู้ใช้และผู้ให้บริการ
5. ประสิทธิภาพ ที่สามารถขยายผลต่อได้ง่าย
เพื่อนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการบินและอวกาศ และภูมิสารสนเทศ ที่พัฒนาในประเทศมาประยุกต์ใช้ในประเทศ
ต้องการส่งเสริมให้ประเทศไทยมีการใช้โดรนในเชิงพาณิชย์และเชิงอุตสาหกรรม ที่มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการใช้โดรน ทั้งในส่วนผู้ใช้งาน การบริหารจัดการ และการกำกับดูแล ให้มีความสะดวก รวดเร็ว
และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตามนโยบาย Thailand 4.0 เป็นการสร้างเสริมการบูรณาการข้อมูลและการปฏิบัติการ
ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานโดรนทุกภาคส่วน ให้สามารถบริหารจัดการด้านการใช้ห้วงอากาศให้ปลอดภัย และเกิดประโยชน์สูงสุด




ประมวลภาพบรรยากาศ